by King’s College Association Under the Royal Patronage
With a sense of royal grace of King Bhumipol for giving the royal permission to King’s College Association Under the Royal Patronage to build the King Bhumibol statue located in King’s College Under the Royal Patronage. To design the great work; the base of King Bhumibol Statue with elegance, befitting with the royal honor, and presenting our loyalty. As aforementioned, it was the beginning point to gather the concepts of design, from the remember, the relationship and the impression during studying in this college, and to use them as the inspirations to create a great and priceless work, suitably with the King Bhumibol Statue. The details of concepts are below.
Cassia fistula flower or “Golden Shower” is the flower symbol of King’s College Under the Royal Patronage. Its yellowish means the fresh, Monday’s color; the day of King Bhumibol’s birthday, and Golden Shower was conferred by King Bhumibol as a flower symbol of the college. The concept to design the base of King Bhumibol was inspired by “Golden Shower”. It started from anything could be remind our remembrance to Golden Shower. Therefore, the design would reflect the curve/ round from Golden Shower’s petals as so delicate and fresh in yellow color, but so strong once fixed with the sepal; a base, and it was meaningful hidden in Golden Shower’s structure. As the royal virtues, the design of this base used an octagonal shape, adding recessed corners and the cornices delicately, but majestically as an architectural work. In old days, the octagonal shape means the royal virtues preventing his people from anything of 8 directions. That was so meaningful to the alumnus, the present students, the teachers, and his people. ถวายความจงรักภักดี Presenting allegiance
At the four corners, it was designed to place the flowers-tray made with glass. Glass means the preciousness, the highness, and eternity. Glass was sculptured piece by piece by hands and stacked together to come out as the splendid glass flowers-tray. Each corner of the base of “Golden Shower” shape was like as the alumnus of King’s College Under the Royal Patronage, swearing as “Dedicated to serve His Majesty the King until die”
As above mentioned, it was to keep everyone informed and understand the meaning of the design, and cooperate to build this great work to glorify the King Bhumibol statue elegantly on the base with the meanings of flower symbol of college, and allegiance of each student. And, this was our cooperation for the center of all our hearts, for the priceless statue as of the property of our college, our nation, and our land which be marked with “School of the King Bhumibol” On 1 June, 2015 it was the 51st anniversary of King Bhumipol entitled the college name, “King’s College Under the Royal Patronage”. This flower-shape base would serve as the base of the King Bhumibol statue to be our heart and our souls as guiding us; the teachers, the alumnus, and the present students at King’s College Under the Royal Patronage, generations to generations forever.
Design, Concept, and Overview of the flower-shape base of the King Bhumibol Statue
Mr. Jirawatn Chavanatit
Alumnus of King’s College Under the Royal Patronage
"ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป" คำนี้ก้องอยู่ในสมองตั้งแต่เป็นนักเรียนจวบจนถึงวันนี้ และตลอดไปจนหมดลมหายใจ"
งานออกแบบแท่นประดิษฐานพระบรมรูป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
หลักคิด แนวคิด และแรงบัลดาลใจในการออกแบบ ความหมายสำคัญ และความความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่ได้นำมาใช้ในการออกแบบ มีรายละเอียดคังต่อไปนี้
ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำ โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สีเหลือง สดใส เป็นสีของวันจันทร์ วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และดอกราชพฤกษ์ ยังเป็นดอกไม้ที่พระองค์พระราชทานให้เป็น ดอกไม้สัญลักณ์ ประจำโรงเรียน
แนวคิดของการออกแบบฐานรองรับพระบรมรูป นำดอกราชพฤกษ์มาเป็นแรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้นของความคิดคือ จะมีอะไรที่จะนำมาสร้างสรรค์เพื่อให้คนได้จดจำ นึกถึง ระลึกถึง ดอกราชพฤกษ์ ดอกไม้พระราชทานประจำโรงเรียนของพวกเราทุกคน การออกแบบได้นำเอาส่วนโค้งมาสร้างองค์ประกอบจากกลีบดอกราชพฤกษ์ที่บอบบาง สีเหลือง สดใส แต่พอมาประกอบรวมตัวเป็นฐาน กลับมีความแข็งแรง มั่นคง และมีความหมายสำคัญซ่อนในโครงสร้างดอกราชพฤกษ์
พระบารมีแผ่ไพศาล
งานออกแบบฐานที่ประทับพระบรมรูป ออกแบบนำรูปทรงแปดเหลี่ยมมาใช้ เพิ่มย่อมุม คิ้วบัว ที่งดงามละเอียดอ่อน แต่ในความละเอียดอ่อน มีความมั่นคง งามส่งาดั่งงานสถาปัตยกรรม เพื่อรองรับพระบรมรูปให้มีความงดงาม สง่างาม รูปทรงแปดเหลี่ยมของฐาน ยังมีความหมายสำคัญมาแต่โบราณ หมายถึง พระบารมีแผ่ไพศาล ปกป้องพสกนิกรไปทั้งแปดทิศ มีความหมายเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ นักเรียนเก่า นักเรียนปัจจุบัน ครู และพากนิกรของพระองค์
พานพุ่มแก้ว ถวายความจงรักภักดี
มุมทั้ง 4 ทิศ ออกแบบให้วางพานพุ่มที่สร้างด้วยแก้ว แก้วที่มีความหมายความถึงความใส ล้ำค่า สูงค่า ความเป็นนิรันดร นำมาสลักเสลาเป็นรูปของพานพุ่ม ในสี่มุม ของโครงสร้างฐานรูปดอกราชพฤกษ์ เปรียบเสมือนนักเรียน และนักเรียนเก่าโรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้ง 4 บ้าน ถวายพานพุ่มแก้วที่ล้ำค่า คู่ควร สมพระเกียรติถวายแด่พระองค์ท่าน แทนคำกล่าวปฏิณานของ นักเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ว่า "ถวายชีวิตไว้รับใช้งาน เป็นข้าฯเบื้องบทมาลย์ จนวันตาย"
ทั้งหมดที่กล่าวมา เพื่อให้ทุกคนทราบและเข้าใจความหมายของงานออกแบบ และร่วมใจกันจัดสร้างถวายเพื่อถวายพระเกียรติ ให้พระบรมรูปมีความสง่างามบนฐานพระบรมรูปที่มีความหมายถึง สัญลักษณ์ดอกไม้ประจำโรงเรียน ความจงรักภักดีของนักเรียนแต่ละบ้าน และนี่คือการร่วมแรง ร่วมมือ ร่วมใจ ศูนย์กลางรวมดวงใจทุกดวงของพวกเราทุกคน เพื่อที่พวกเราจะได้มีพระบรมรูปที่ล้ำค่า เป็นสมบัติของโรงเรียน ชาติ และแผ่นดิน ที่มีคุณค่า บ่งบอกว่าที่นี่ ณ ที่แห่งนี้คือ "โรงเรียนของในหลวง" และในวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ในวันครบรอบ ๕๑ ปี ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ฐานดอกไม้ดอกนี้ จะได้ทำหน้าที่รองรับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้อยู่เป็นมิ่งขวัญ เป็นศูนย์รวมจิตใจ นำทางให้แก่ข้า คณะครู นักเรียนเก่า นักเรียน ณ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน
นาย จิรวัฒน ชวนะธิต
ออกแบบ แนวคิด และภาพรวมแท่นประดิษฐานพระบรมรูป รัชกาลที่ ๙
นักเรียนเก่า ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รุ่น ๑๓
ประธานฝ่ายพิธีการ
โครงการจัดสร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองพระองค์จอมทัพไทย สมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์